วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

3. การประกันราคาขึ้นสูงคืออะไร และทำเพื่อใคร

การกำหนดราคาขั้นสูง (Price Ceiling : PC)

การกำหนดราคาขั้นสูง   (Price Ceiling หรือ Maximum Price) นั้นหมายถึง ราคาสูงสุดที่ถูกกำหนดขึ้นมาในระดับที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพอันเกิดจากการทำงานของกลไกราคา เพื่อป้องกันไม่ให้ราคาสินค้าชนิดต่างๆ สูงเกินไป
การกำหนดราคาขั้นสูงจะเกิดขึ้นในฝั่งของอุปสงค์ เมื่อรัฐบาลเห็นว่า ราคาตลาดหรือราคาดุลยภาพของสินค้าอุปโภคบริโภคในช่วงเวลาหนึ่งเป็นราคาที่สูงเกินไป ทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อน เช่น ในภาวะที่เกิดเงินเฟ้อรุนแรง ภาวะที่ราคาสินค้าถีบตัวสูงขึ้นจนทำให้สินค้าในตลาดขาดแคลน หรือภาวะสงคราม เป็นต้น รัฐบาลจึงต้องมีนโยบายเข้ามาแทรกแซงโดยการกำหนดราคาขั้นสูง เพื่อพยุงราคาให้เกิดการผลิตที่มากขึ้น จนกระทั่งสินค้านั้นๆ มีราคาที่สมดุล ดังแสดงในกราฟ
จากกราฟ สามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้คือ




ลักษณะที่ 1 รัฐบาลใช้วิธีปันส่วนสินค้าจากจำนวนปริมาณขายที่มีอยู่เป็นเกณฑ์ ซึ่งก็คือ การจำกัดปริมาณการบริโภคลงมาให้เท่ากับปริมาณสินค้า เช่น การแจกคูปองเพื่อใช้ในการแลกซื้อสินค้า ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลง โดยผู้ผลิตสามารถนำคูปองดังกล่าวไปขึ้นเงินจากรัฐบาลได้ เป็นต้น จะเห็นได้ว่า วิธีการเช่นนี้ ทำให้เสมือนว่าอุปสงค์ของผู้บริโภคลดลง โดย Shift ลง จากเส้น D (เส้นสีชมพู) มาเป็น D/ (เส้นสีน้ำเงิน) ปัญหาการขาดแคลนสินค้าก็จะหมดไป                      
ลักษณะที่ 2 รัฐบาลจัดหาสินค้าเพิ่มในตลาด ตามความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งก็คือ การเพิ่มอุปทานของผู้ผลิต โดยทางเลือกแรก ได้แก่ 2.1) การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ หรือนำสินค้าที่มีในสต็อกออกมาจำหน่าย ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้อุปทานทั้งหมดในตลาดเพิ่มขึ้น เส้นก็จะ Shift ขึ้น จากเส้น S (เส้นสีเขียว) ไปเป็นเส้น S/ (เส้นสีแดง) หรืออีกทางเลือกคือ 2.2) สนับสนุนให้มีการผลิตสินค้าภายในประเทศมากขึ้น ด้วยการที่รัฐออกมาตรการให้ความช่วยเหลือในการลดต้นทุนให้แก่ผู้ผลิตที่อัตรา EC หน่วย (เช่น ลดภาษี เป็นต้น) ก็จะทำให้เส้น S (เส้นสีเขียว) สามารถ Shift มาเป็นเส้น S/ (เส้นสีแดง) ได้เช่นเดียวกัน ปัญหาสินค้าไม่เพียงพอต่อการบริโภคก็จะหมดไป
อย่างไรก็ตาม มาตรการการนำเข้าและการลดต้นทุนให้แก่ผู้ผลิต ก็ยังมีความแตกต่างกันในประเด็นของการกระจายผลประโยชน์และค่าใช้จ่ายของรัฐบาล โดยถ้าใช้มาตรการนำเข้า รัฐบาลจะไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ผู้ผลิตในประเทศจะขายสินค้าได้แค่ในปริมาณ QD และผู้ผลิตสินค้าในต่างประเทศจะขายสินค้าได้ในปริมาณ QC-QD ขณะที่ถ้าใช้มาตรการลดต้นทุนให้แก่ผู้ผลิต ผู้ผลิตในประเทศจะขายสินค้าได้ทั้งหมดถึง QC แต่รัฐบาลก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วย
นอกจากนี้ การที่เกิดกรณีสินค้าในตลาดขาดแคลน หากรัฐบาลไม่มีการเข้ามาแทรกแซง ขณะที่ผู้ผลิตก็ไม่สามารถยกระดับราคาให้สูงขึ้นได้เพราะผิดกฎหมาย ผลที่จะตามมาก็คือ อาจจะทำให้เกิดการกักตุนสินค้าบางส่วนไปขายในตลาดมืด (Black market) หรือตลาดที่มีการซื้อขายกันในราคาที่สูงกว่าที่รัฐบาลกำหนดได้ เนื่องจากมีผู้ซื้อบางรายเต็มใจจะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าที่สูงกว่าในราคาขั้นสูง ขณะเดียวกันผู้ขายก็ยินดีที่จะนำสินค้ามาขายในราคาที่สูงกว่าที่รัฐบาลกำหนดเป็นจำนวนมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การซื้อขายในตลาดเกิดขึ้นในระดับราคาและปริมาณที่เกิดจากการปรับตัวของอุปสงค์และอุปทานในตลาดมืดนั่นเอง
กล่าวโดยสรุป การช่วยเหลือผู้บริโภคโดยการกำหนดราคาขั้นสูงทั้ง 2 ลักษณะจะทำให้ราคาที่รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงต่ำกว่าราคาตลาด (PC < PM) โดยวิธีปันส่วนสินค้าทำให้เสมือนว่าปริมาณความต้องการสินค้าในตลาดลดลง ขณะที่วิธีการจัดการสินค้ามาเพิ่มในตลาด ทำให้ปริมาณการผลิตสินค้าในตลาดเพิ่มมากขึ้น
สรุปคือ การกำหนดราคาขั้นต่ำ เพื่อใคร
              รัฐบาลจัดทำการกำหนดราคาขั้นสูงเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค ฯ

ที่มาแหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://ecokmutt.files.wordpress.com


2. การประกันราคาขั้นต่ำคืออะไร และทำเพื่อใคร


การกำหนดราคาขั้นต่ำ (Floor Price : PF)

       การกำหนดราคาขั้นต่ำ    (Floor Price หรือ Minimum price หรือ Price Support) หมายถึง ราคาต่ำสุดที่ถูกกำหนดขึ้นมาในระดับที่สูงกว่าราคาดุลยภาพอันเกิดจากการทำงานของกลไกราคาเพื่อป้องกันไม่ให้ราคาสินค้าชนิดต่างๆต่ำเกินไป การกำหนดราคาขั้นต่ำจะเกิดขึ้นในฝั่งของอุปทาน เป็นมาตรการที่ใช้ในการช่วยเหลือผู้ผลิต เรียกอีกอย่างว่า การประกันราคา หรือ การพยุงราคา ที่เห็นได้ชัดคือ กรณีการช่วยเหลือเกษตรกรในการประกันราคาสินค้าทางการเกษตร เมื่อรัฐบาลพิจารณาเห็นว่า ราคาตลาดหรือราคาดุลยภาพของสินค้าเกษตรในช่วงเวลาหนึ่งเป็นราคาที่ต่ำเกินไป ไม่ได้สะท้อนต้นทุนการผลิตที่แท้จริง ทำให้เกษตรกรเดือดร้อน รัฐบาลก็จะมีนโยบายประกันราคาสินค้าให้สูงกว่าราคาดุลยภาพเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ดังแสดงในกราฟที่


       จากกราฟ เส้นอุปทาน (เส้นสีเขียว) แทนผู้ผลิตซึ่งเป็นเกษตรกร ส่วนเส้นอุปสงค์ (เส้นสีชมพู) คือ ผู้บริโภคที่เป็นประชาชนทั่วไป เมื่อราคาตลาดของสินค้าเกษตรที่ PM นั้นเป็นราคาที่ต่ำเกินไป หากยังคงปล่อยให้ตลาดปรับตัวไปตามการทำงานของกลไกราคาจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรรัฐบาลจึงต้องเข้ามาแทรกแซงด้วยการประกันราคาขั้นต่ำที่ PF
     การเข้ามาแทรกแซงตลาดดังกล่าว ส่งผลให้เกษตรกรต้องการนำสินค้าออกมาขายเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคลดจำนวนการซื้อลงเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคา ทำให้สินค้าล้นตลาด (Surplus) ดังจะเห็นว่า ณ จุด AB เกิดสิ่งที่เรียกว่า อุปทานส่วนเกิน (Excess Supply) ขึ้น ซึ่งถ้าเป็นไปตามกลไกตลาดปกติ ราคาสินค้าเกษตรก็จะถูกดันกลับลงมายังจุด PM ที่เป็นดุลยภาพของตลาด (Market Equilibrium) แต่การเข้ามาแทรกแซงของรัฐบาลทำให้กลไกตลาดเกิดการบิดเบือนไป
   การจะแก้ปัญหาอุปทานส่วนเกินที่เกิดขึ้น เพื่อให้การทำงานของกลไกตลาดกลับมาสู่จุดดุลยภาพ รัฐบาลสามารถกระทำได้ใน 2 ลักษณะคือ
ลักษณะที่ 1 รัฐบาลรับซื้ออุปทานส่วนเกิน
ลักษณะที่ 2 รัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่เกษตรกร

สรุปคือ การกำหนดราคาขั้นต่ำ เพื่อใคร
              รัฐบาลจักทำการกำหนดราคาขั้นต่ำ เพื่อช่วยเหลือผู้ผลิต/ เกษตรกรหรือพ่อค้าคนกลางเป็นต้นฯลฯ
**-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------**
ที่มาแหล่งข้อมูล
www.trueplookpanya.com
https://ecokmutt.files.wordpress.com

1. ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา และอุปทานต่อราคา มีประโยชน์อย่างไร

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Elasticity of Demand)
            ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of Demand) หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงความต้องการซื้อสินค้าต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆ ที่กำหนดอุปสงค์ เช่น ราคา รายได้ ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ความยืดหยุ่นของอุปสงค์มี 3 ชนิด ดังนี้

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Price Elasticity of Demand) เป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการซื้อสินค้าเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลง โดยวัดออกมาในรูปของร้อยละ
        ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Ed) =       % การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการซื้อ
                                                                                         % การเปลี่ยนแปลงของราคา
                โดยสูตรที่ใช้คำนวณหาค่าความหยือหยุ่นนั้นมี 2 ลักษณะ คือ
                ก. สูตรความยืดหยุ่นของอุปงค์แบบจุด (Point elasticity of Demand)
                ข ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์บนช่วงใดช่วงหนึ่งบนเส้นอุปสงค์ (Arc elasticity of  demand) 

ลักษณะความยืดหยุ่นของอุปสงค์
            สามารถแบ่งลักษณะของอุปสงค์ตามระดับความยืดหยุ่นของอุปสงค์ได้ดังรูปที่

ประโยชน์ความหยืดหยุ่นของอุปสงค์
1.             ในการวางนโยบายหรือมาตรการของรัฐ เช่น การจัดเก็บภาษีจากสินค้า รัฐจะต้องรู้ว่าสินค้านั้นมีความหยืดหยุ่นเท่าไร เพื่อจะได้ทราบว่าภาระภาษีจะตกไปบุคคลกลุ่มใด
2.             ช่วยให้หน่วยุรกิจสามารถดำเนินกลยุทธทางด้านราคาได้อย่างถูกต้องว่าสินค้าชนิดใดควรตั้งราคาสินค้าไว้สูงหรือต่ำเพียงใด  ควรเพิ่มหรือลดราคาสินค้า จึงจะทำให้รายได้รวมกำไรของธุรกิจจะเพิ่มขึ้น
3.             นำมาใช้ประกอบการพยากรณ์แนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

**-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------**

ความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา  (price elasticity of supply)

              ความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา  หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงในจำนวนสินค้าที่ผู้ขายต้องการขายต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงในราคาสินค้าชนิดนั้น โดยคิดอัตราการเปลี่ยนแปลงเป็นร้อยละ
โดยที่       Es                      =             ค่าความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา
                % DQ                 =             การเปลี่ยนแปลงของจำนวนขายเป็นร้อยละ
                % DP                 =             การเปลี่ยนแปลงของราคาเป็นร้อยละ

 กฎของอุปทาน  จำนวนขายจะเปลี่ยนแปลงทางเดียวกันกับราคาสินค้าชนิดนั้นเสมอ ดังนั้น เครื่องหมายการเปลี่ยนแปลงของราคาและจำนวนขายจะเหมือนกัน ค่าความยืดหยุ่นของอุปทานจะเป็นบวกเสมอ และเป็นตัวเลขโดด  ๆ ไม่มีหน่วย ในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องตัดเครื่องหมายทิ้งอย่างเช่นที่ทำกับค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา
การวัดความยืดหยุ่นของอุปทาน  มี  2  วิธี คือ
          1.แบบจุด (point elasticity of supply) 
          2.แบบช่วง (arc elasticity of supply)

ลักษณะความยืดหยุ่นของอุปสงค์
1.ค่าที่บอกให้รู้ถึงความมากน้อยของการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอขาย เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า
2.การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า และการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอขาย จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3. ค่าความยืดหยุ่นจะมีเครื่องหมายเป็นบวก

ปัจจัยกำหนดความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา
           1  ระยะเวลา อุปทานในระยะยาวจึงมีค่าความยืดหยุ่นมากกว่าในระยะสั้น เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงจำนวนการผลิตได้เต็มที่ตามการเปลี่ยนแปลงของราคา
            2  การเปลี่ยนแปลงต้นทุนการผลิต กล่าวคือ ในการขยายการผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง หากต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแล้วทำให้ผู้ผลิตไม่อยากผลิตออกขายมาก เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นไม่คุ้มกับต้นทุนที่สูงขึ้น ในกรณีนี้อุปทานของ  สินค้าจะมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อย

ประโยชน์ของค่าความหยืดหยุ่นของอุปทาน
             1.หน่วยงานของรัฐบาล ใช้ความรู้เรื่องความยืดหยุ่นของอุปทานในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายภาษี นโยบายการแก้ปัญหาดุลการชำระเงินขาดดุล  
             2.  ผู้ผลิตสามารถนำความรู้เรื่องความยืดหยุ่นของอุปทานไปใช้ในการวางนโยบายด้านราคา เช่น ถ้าสินค้าทีผู้ผลิต ผลิตออกสู่ตลาดมีความยืดหยุ่นอุปสงค์ มาก ผู้ผลิตที่อยากมีรายได้สูงขึ้นก็จะลดราคาสินค้า อย่างไรก็ตามผู้ผลิตต้องคำนึงความยืดหยุ่นของอุปทานด้วย ถ้าอุปทานของสินค้ามีความยืดหยุ่นสูง การลดราคาสินค้าจะทำให้รายได้ของผู้ผลิตเพิ่มขึ้น แต่ถ้าอุปทานมีความยืดหยุ่นต่ำ การลดราคาสินค้าจะทำให้ผู้ผลิตมีรายได้ลดลง
             3. ผู้ผลิตอาจนำความรู้เกี่ยวกับความยืดหยุ่นมาใช้ในการวางแผนในด้านการผลิตเพราะถ้าผู้ผลิตทราบความยืดหยุ่นของอุปทาน ปัจจัยการผลิตสินค้า จะทำให้ผู้ผลิตสินค้าสามารถวางแผนในการผลิตได้อย่างถูกต้อง

**-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------**

แหล่งอ้างอิงข้อมูล
http://www.msci.chandra.ac.th
https://www.l3nr.org/posts
www.l3nr.org