การกำหนดราคาขั้นสูง (Price Ceiling : PC)
การกำหนดราคาขั้นสูง (Price Ceiling หรือ Maximum Price) นั้นหมายถึง ราคาสูงสุดที่ถูกกำหนดขึ้นมาในระดับที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพอันเกิดจากการทำงานของกลไกราคา
เพื่อป้องกันไม่ให้ราคาสินค้าชนิดต่างๆ สูงเกินไป
การกำหนดราคาขั้นสูงจะเกิดขึ้นในฝั่งของอุปสงค์
เมื่อรัฐบาลเห็นว่า ราคาตลาดหรือราคาดุลยภาพของสินค้าอุปโภคบริโภคในช่วงเวลาหนึ่งเป็นราคาที่สูงเกินไป
ทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อน เช่น ในภาวะที่เกิดเงินเฟ้อรุนแรง
ภาวะที่ราคาสินค้าถีบตัวสูงขึ้นจนทำให้สินค้าในตลาดขาดแคลน หรือภาวะสงคราม เป็นต้น
รัฐบาลจึงต้องมีนโยบายเข้ามาแทรกแซงโดยการกำหนดราคาขั้นสูง เพื่อพยุงราคาให้เกิดการผลิตที่มากขึ้น
จนกระทั่งสินค้านั้นๆ มีราคาที่สมดุล ดังแสดงในกราฟ
จากกราฟ สามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้คือ
ลักษณะที่ 1 รัฐบาลใช้วิธีปันส่วนสินค้าจากจำนวนปริมาณขายที่มีอยู่เป็นเกณฑ์
ซึ่งก็คือ
การจำกัดปริมาณการบริโภคลงมาให้เท่ากับปริมาณสินค้า เช่น การแจกคูปองเพื่อใช้ในการแลกซื้อสินค้า
ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลง โดยผู้ผลิตสามารถนำคูปองดังกล่าวไปขึ้นเงินจากรัฐบาลได้
เป็นต้น จะเห็นได้ว่า วิธีการเช่นนี้ ทำให้เสมือนว่าอุปสงค์ของผู้บริโภคลดลง
โดย Shift
ลง จากเส้น D (เส้นสีชมพู) มาเป็น D/
(เส้นสีน้ำเงิน) ปัญหาการขาดแคลนสินค้าก็จะหมดไป
ลักษณะที่ 2 รัฐบาลจัดหาสินค้าเพิ่มในตลาด ตามความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งก็คือ การเพิ่มอุปทานของผู้ผลิต
โดยทางเลือกแรก ได้แก่ 2.1) การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
หรือนำสินค้าที่มีในสต็อกออกมาจำหน่าย ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้อุปทานทั้งหมดในตลาดเพิ่มขึ้น
เส้นก็จะ Shift ขึ้น จากเส้น S (เส้นสีเขียว)
ไปเป็นเส้น S/ (เส้นสีแดง) หรืออีกทางเลือกคือ 2.2) สนับสนุนให้มีการผลิตสินค้าภายในประเทศมากขึ้น
ด้วยการที่รัฐออกมาตรการให้ความช่วยเหลือในการลดต้นทุนให้แก่ผู้ผลิตที่อัตรา EC
หน่วย (เช่น ลดภาษี เป็นต้น) ก็จะทำให้เส้น S (เส้นสีเขียว)
สามารถ Shift มาเป็นเส้น S/
(เส้นสีแดง) ได้เช่นเดียวกัน ปัญหาสินค้าไม่เพียงพอต่อการบริโภคก็จะหมดไป
อย่างไรก็ตาม
มาตรการการนำเข้าและการลดต้นทุนให้แก่ผู้ผลิต
ก็ยังมีความแตกต่างกันในประเด็นของการกระจายผลประโยชน์และค่าใช้จ่ายของรัฐบาล โดยถ้าใช้มาตรการนำเข้า
รัฐบาลจะไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ผู้ผลิตในประเทศจะขายสินค้าได้แค่ในปริมาณ QD และผู้ผลิตสินค้าในต่างประเทศจะขายสินค้าได้ในปริมาณ QC-QD
ขณะที่ถ้าใช้มาตรการลดต้นทุนให้แก่ผู้ผลิต
ผู้ผลิตในประเทศจะขายสินค้าได้ทั้งหมดถึง QC แต่รัฐบาลก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วย
นอกจากนี้ การที่เกิดกรณีสินค้าในตลาดขาดแคลน
หากรัฐบาลไม่มีการเข้ามาแทรกแซง ขณะที่ผู้ผลิตก็ไม่สามารถยกระดับราคาให้สูงขึ้นได้เพราะผิดกฎหมาย
ผลที่จะตามมาก็คือ อาจจะทำให้เกิดการกักตุนสินค้าบางส่วนไปขายในตลาดมืด (Black market) หรือตลาดที่มีการซื้อขายกันในราคาที่สูงกว่าที่รัฐบาลกำหนดได้
เนื่องจากมีผู้ซื้อบางรายเต็มใจจะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าที่สูงกว่าในราคาขั้นสูง
ขณะเดียวกันผู้ขายก็ยินดีที่จะนำสินค้ามาขายในราคาที่สูงกว่าที่รัฐบาลกำหนดเป็นจำนวนมากขึ้น
ซึ่งจะทำให้การซื้อขายในตลาดเกิดขึ้นในระดับราคาและปริมาณที่เกิดจากการปรับตัวของอุปสงค์และอุปทานในตลาดมืดนั่นเอง
กล่าวโดยสรุป
การช่วยเหลือผู้บริโภคโดยการกำหนดราคาขั้นสูงทั้ง 2 ลักษณะจะทำให้ราคาที่รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงต่ำกว่าราคาตลาด (PC < PM) โดยวิธีปันส่วนสินค้าทำให้เสมือนว่าปริมาณความต้องการสินค้าในตลาดลดลง
ขณะที่วิธีการจัดการสินค้ามาเพิ่มในตลาด ทำให้ปริมาณการผลิตสินค้าในตลาดเพิ่มมากขึ้น
สรุปคือ การกำหนดราคาขั้นต่ำ
เพื่อใคร
รัฐบาลจัดทำการกำหนดราคาขั้นสูงเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค
ฯ
ที่มาแหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://ecokmutt.files.wordpress.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น