การกำหนดราคาขั้นต่ำ (Floor Price : PF)
การกำหนดราคาขั้นต่ำ (Floor Price หรือ Minimum
price หรือ Price Support) หมายถึง ราคาต่ำสุดที่ถูกกำหนดขึ้นมาในระดับที่สูงกว่าราคาดุลยภาพอันเกิดจากการทำงานของกลไกราคาเพื่อป้องกันไม่ให้ราคาสินค้าชนิดต่างๆต่ำเกินไป การกำหนดราคาขั้นต่ำจะเกิดขึ้นในฝั่งของอุปทาน
เป็นมาตรการที่ใช้ในการช่วยเหลือผู้ผลิต เรียกอีกอย่างว่า การประกันราคา หรือ
การพยุงราคา ที่เห็นได้ชัดคือ กรณีการช่วยเหลือเกษตรกรในการประกันราคาสินค้าทางการเกษตร
เมื่อรัฐบาลพิจารณาเห็นว่า ราคาตลาดหรือราคาดุลยภาพของสินค้าเกษตรในช่วงเวลาหนึ่งเป็นราคาที่ต่ำเกินไป
ไม่ได้สะท้อนต้นทุนการผลิตที่แท้จริง ทำให้เกษตรกรเดือดร้อน รัฐบาลก็จะมีนโยบายประกันราคาสินค้าให้สูงกว่าราคาดุลยภาพเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร
ดังแสดงในกราฟที่
จากกราฟ
เส้นอุปทาน (เส้นสีเขียว) แทนผู้ผลิตซึ่งเป็นเกษตรกร ส่วนเส้นอุปสงค์ (เส้นสีชมพู)
คือ ผู้บริโภคที่เป็นประชาชนทั่วไป เมื่อราคาตลาดของสินค้าเกษตรที่ PM นั้นเป็นราคาที่ต่ำเกินไป หากยังคงปล่อยให้ตลาดปรับตัวไปตามการทำงานของกลไกราคาจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรรัฐบาลจึงต้องเข้ามาแทรกแซงด้วยการประกันราคาขั้นต่ำที่
PF
การเข้ามาแทรกแซงตลาดดังกล่าว
ส่งผลให้เกษตรกรต้องการนำสินค้าออกมาขายเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคลดจำนวนการซื้อลงเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคา
ทำให้สินค้าล้นตลาด (Surplus) ดังจะเห็นว่า
ณ จุด AB
เกิดสิ่งที่เรียกว่า อุปทานส่วนเกิน (Excess
Supply) ขึ้น ซึ่งถ้าเป็นไปตามกลไกตลาดปกติ
ราคาสินค้าเกษตรก็จะถูกดันกลับลงมายังจุด PM ที่เป็นดุลยภาพของตลาด
(Market Equilibrium) แต่การเข้ามาแทรกแซงของรัฐบาลทำให้กลไกตลาดเกิดการบิดเบือนไป
การจะแก้ปัญหาอุปทานส่วนเกินที่เกิดขึ้น
เพื่อให้การทำงานของกลไกตลาดกลับมาสู่จุดดุลยภาพ รัฐบาลสามารถกระทำได้ใน 2 ลักษณะคือ
ลักษณะที่
1 รัฐบาลรับซื้ออุปทานส่วนเกิน
ลักษณะที่
2 รัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่เกษตรกร
สรุปคือ การกำหนดราคาขั้นต่ำ
เพื่อใคร
รัฐบาลจักทำการกำหนดราคาขั้นต่ำ เพื่อช่วยเหลือผู้ผลิต/ เกษตรกรหรือพ่อค้าคนกลางเป็นต้นฯลฯ
**-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------**
ที่มาแหล่งข้อมูล
www.trueplookpanya.com
https://ecokmutt.files.wordpress.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น