วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

1. ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา และอุปทานต่อราคา มีประโยชน์อย่างไร

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Elasticity of Demand)
            ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of Demand) หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงความต้องการซื้อสินค้าต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆ ที่กำหนดอุปสงค์ เช่น ราคา รายได้ ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ความยืดหยุ่นของอุปสงค์มี 3 ชนิด ดังนี้

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Price Elasticity of Demand) เป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการซื้อสินค้าเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลง โดยวัดออกมาในรูปของร้อยละ
        ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Ed) =       % การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการซื้อ
                                                                                         % การเปลี่ยนแปลงของราคา
                โดยสูตรที่ใช้คำนวณหาค่าความหยือหยุ่นนั้นมี 2 ลักษณะ คือ
                ก. สูตรความยืดหยุ่นของอุปงค์แบบจุด (Point elasticity of Demand)
                ข ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์บนช่วงใดช่วงหนึ่งบนเส้นอุปสงค์ (Arc elasticity of  demand) 

ลักษณะความยืดหยุ่นของอุปสงค์
            สามารถแบ่งลักษณะของอุปสงค์ตามระดับความยืดหยุ่นของอุปสงค์ได้ดังรูปที่

ประโยชน์ความหยืดหยุ่นของอุปสงค์
1.             ในการวางนโยบายหรือมาตรการของรัฐ เช่น การจัดเก็บภาษีจากสินค้า รัฐจะต้องรู้ว่าสินค้านั้นมีความหยืดหยุ่นเท่าไร เพื่อจะได้ทราบว่าภาระภาษีจะตกไปบุคคลกลุ่มใด
2.             ช่วยให้หน่วยุรกิจสามารถดำเนินกลยุทธทางด้านราคาได้อย่างถูกต้องว่าสินค้าชนิดใดควรตั้งราคาสินค้าไว้สูงหรือต่ำเพียงใด  ควรเพิ่มหรือลดราคาสินค้า จึงจะทำให้รายได้รวมกำไรของธุรกิจจะเพิ่มขึ้น
3.             นำมาใช้ประกอบการพยากรณ์แนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

**-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------**

ความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา  (price elasticity of supply)

              ความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา  หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงในจำนวนสินค้าที่ผู้ขายต้องการขายต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงในราคาสินค้าชนิดนั้น โดยคิดอัตราการเปลี่ยนแปลงเป็นร้อยละ
โดยที่       Es                      =             ค่าความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา
                % DQ                 =             การเปลี่ยนแปลงของจำนวนขายเป็นร้อยละ
                % DP                 =             การเปลี่ยนแปลงของราคาเป็นร้อยละ

 กฎของอุปทาน  จำนวนขายจะเปลี่ยนแปลงทางเดียวกันกับราคาสินค้าชนิดนั้นเสมอ ดังนั้น เครื่องหมายการเปลี่ยนแปลงของราคาและจำนวนขายจะเหมือนกัน ค่าความยืดหยุ่นของอุปทานจะเป็นบวกเสมอ และเป็นตัวเลขโดด  ๆ ไม่มีหน่วย ในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องตัดเครื่องหมายทิ้งอย่างเช่นที่ทำกับค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา
การวัดความยืดหยุ่นของอุปทาน  มี  2  วิธี คือ
          1.แบบจุด (point elasticity of supply) 
          2.แบบช่วง (arc elasticity of supply)

ลักษณะความยืดหยุ่นของอุปสงค์
1.ค่าที่บอกให้รู้ถึงความมากน้อยของการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอขาย เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า
2.การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า และการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอขาย จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3. ค่าความยืดหยุ่นจะมีเครื่องหมายเป็นบวก

ปัจจัยกำหนดความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา
           1  ระยะเวลา อุปทานในระยะยาวจึงมีค่าความยืดหยุ่นมากกว่าในระยะสั้น เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงจำนวนการผลิตได้เต็มที่ตามการเปลี่ยนแปลงของราคา
            2  การเปลี่ยนแปลงต้นทุนการผลิต กล่าวคือ ในการขยายการผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง หากต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแล้วทำให้ผู้ผลิตไม่อยากผลิตออกขายมาก เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นไม่คุ้มกับต้นทุนที่สูงขึ้น ในกรณีนี้อุปทานของ  สินค้าจะมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อย

ประโยชน์ของค่าความหยืดหยุ่นของอุปทาน
             1.หน่วยงานของรัฐบาล ใช้ความรู้เรื่องความยืดหยุ่นของอุปทานในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายภาษี นโยบายการแก้ปัญหาดุลการชำระเงินขาดดุล  
             2.  ผู้ผลิตสามารถนำความรู้เรื่องความยืดหยุ่นของอุปทานไปใช้ในการวางนโยบายด้านราคา เช่น ถ้าสินค้าทีผู้ผลิต ผลิตออกสู่ตลาดมีความยืดหยุ่นอุปสงค์ มาก ผู้ผลิตที่อยากมีรายได้สูงขึ้นก็จะลดราคาสินค้า อย่างไรก็ตามผู้ผลิตต้องคำนึงความยืดหยุ่นของอุปทานด้วย ถ้าอุปทานของสินค้ามีความยืดหยุ่นสูง การลดราคาสินค้าจะทำให้รายได้ของผู้ผลิตเพิ่มขึ้น แต่ถ้าอุปทานมีความยืดหยุ่นต่ำ การลดราคาสินค้าจะทำให้ผู้ผลิตมีรายได้ลดลง
             3. ผู้ผลิตอาจนำความรู้เกี่ยวกับความยืดหยุ่นมาใช้ในการวางแผนในด้านการผลิตเพราะถ้าผู้ผลิตทราบความยืดหยุ่นของอุปทาน ปัจจัยการผลิตสินค้า จะทำให้ผู้ผลิตสินค้าสามารถวางแผนในการผลิตได้อย่างถูกต้อง

**-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------**

แหล่งอ้างอิงข้อมูล
http://www.msci.chandra.ac.th
https://www.l3nr.org/posts
www.l3nr.org



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น